top of page
Search
Writer's picturearnold Leelaprasert

ศิลปะคืออะไร?



ศิลปะคืออะไร? ในมุมมองของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี author : วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์ “ศิลปะคืออะไร?” เป็นคำถามสั้นๆ ที่ตอบไม่ง่าย + จาก Link https://becommon.co/culture/corrado-feroci-art-view/… + เพราะแม้แต่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปราชญ์ศิลปินผู้วางรากฐานศิลปะไทยสมัยใหม่ และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ยังเคยเอ่ยว่า + “ศิลปะคืออะไรนั้นไม่ใช่ของง่ายที่จะอธิบาย…” + อาจารย์ศิลป์เปรียบเปรยว่า การพูดถึงศิลปะนั้นไม่ต่างกับการพูดถึงความลึกลับของจักรวาล แต่ถึงอย่างนั้นอาจารย์ก็ได้เมตตาเขียนอธิบายความหมายของศิลปะไว้ในบทความ อะไรคือศิลปะ ได้อย่างเห็นภาพ + “คำว่า ‘ศิลปะ’ หมายความถึง การงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามด้วยมือและความคิดเห็น เช่น ตัดเสื้อ สร้างเครื่องเรือน ปลูกต้นไม้ เป็นต้น” + นี่คือความหมายของศิลปะอย่างกว้าง ที่น่าจะให้คำตอบกับผู้ที่สงสัยในเบื้องต้น + แต่ถ้าลงในรายละเอียดอีกสักหน่อย เคยสงสัยไหมว่า ศิลปะคืออะไร มีไปทำไม และมีไปเพื่ออะไร? + ศิลปะคือการพวยพุ่ง แทรกซึม และสัญชาตญาณ อาจารย์ศิลป์ได้อธิบายถึงความหมายของศิลปะอย่างชี้ชัด โดยลงน้ำหนักที่ วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) ว่านอกจากต้องใช้ความพยายามด้วยมือและความคิดแล้ว “ยังต้องมีการพวยพุ่งแห่งปัญญาและจิตออกมาด้วย” + หรือ Intellectual and Spiritual Emanation ในภาษาอังกฤษ ซึ่ง พระยาอนุมานราชธน ผู้แปลข้อเขียนของอาจารย์ศิลป์ ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ในวงเล็บว่า

ถ้ากล่าวเป็นภาษาสามัญ คือ ต้องมีใจจดใจจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ เพื่อให้เกิดปัญญาความคิดและความรู้สึกทางใจให้พวยพุ่งออกมาและแทรกซึมเข้าไปในสิ่งนั้น + เพราะอะไรมนุษย์ถึงสร้างงานศิลปะ? อาจารย์ศิลป์อธิบายความข้อนี้ว่าเพื่อตอบสนองสัญชาตญาณ นั่นคือการรัก พอใจ และนิยมในสิ่งสวยงามที่มีมาแต่กำเนิด

“ความจริงคนเราไม่ว่าคนเช่นไร ย่อมยินดีเข้าใกล้สิ่งที่เป็นความงาม ความไพเราะ และรู้สึกขยะแขยงออกห่างจากสิ่งที่เป็นความน่าเกลียด…” + โดยยกตัวอย่าง… “ถ้าเราจำเป็นจะต้องเลือกเอาสิ่งใดในชนิดเดียวกัน ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก จะเป็นปากกาหมึกซึม เสื้อผ้า รถยนต์ ขวดน้ำหอม หรือเรือนที่อยู่ก็ตาม เราก็พยายามเลือกเอาสิ่งเหล่านั้นแต่ที่เห็นว่างามที่สุดในพวกของมัน เพราะเส้นและสี (คือลวดลายและสีสัน) ที่งามสมบูรณ์ กระทำให้บันเทิงใจอันแท้จริง

“ความรู้สึกบันเทิงใจนี้เป็นสัญชาตญาณมีมาแต่กำเนิด เรียกว่า ความรู้สึกทางสุนทรียภาพ” ทว่าความรู้สึกทางสุนทรีภาพ แม้จะมีอยู่ในคนทุกคน แต่อาจารย์ศิลป์ก็ชี้ว่า อาจประณีตและหยาบไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ความรู้รสแห่งศิลปะ (Artistic Taste) หรือการเข้าถึงความงาม อันเกิดจากการศึกษาอบรม การคลี่คลายทางปัญญาและความคิดของแต่ละคน ที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าความรู้เชิงเทคนิค + “พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน…แล้วจึงเรียนศิลปะ” อาจารย์ศิลป์จะพูดประโยคนี้กับนักเรียนศิลปะที่เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยศิลปากรในวันแรก ด้วยเหตุผลว่า เพราะศิลปะไม่ว่าจะเป็นภาพวาด บทเพลง บทกวี ภาพถ่าย หรือแขนงใดก็ตาม ล้วนเป็นสิ่งที่รองรับและแสดงออกถึงความคิดของมนุษย์ + และเมื่อเป็นเช่นนั้น คนสร้างงานศิลปะจะปฏิเสธที่จะไม่เรียนรู้ความเป็นมนุษย์ได้อย่างไร + “ทุกคนมีความงาม นายต้องค้นให้พบ… แม้แต่คนที่ขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุด ก็อาจจะมีความงามที่แอบซ่อนอยู่ อาจจะเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือ ฟัน หรือแม้แต่จิตใจที่งดงามก็ตาม นายต้องค้นให้พบ…” ศิลปะมีไว้ทำไม และมีไปเพื่ออะไร? หากที่ผ่านมาคือการพูดถึงนิยามของศิลปะ ข้อสงสัยนี้กำลังพุ่งตรงไปที่คำถามใหญ่ เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของศิลปะ ว่ามีไปเพื่ออะไร? + อาจารย์ศิลป์ตอบกระชับแต่ได้ใจความว่า “ศิลปะมีไว้เพื่อให้เป็นที่ยินดีและขัดเกลาความคิดจิตใจให้ผ่องใส”

และไม่ว่างานศิลปะนั้นจะเป็นประเภทใด ล้วนมุ่งตรงไปที่จุดหมายนั้นเสมอ + “ในงานศิลปะ 100 ชิ้น ท่านอาจได้พบงานสักชิ้นหนึ่ง ซึ่งก่อให้ท่านเกิดอารมณ์ซาบซ่านสะเทือนใจ ให้ความสุขและเป็นบ่อเกิดให้คิดให้ทำในสิ่งที่ดีงาม” โดยอาจารย์ศิลป์ย้ำว่า “นี่แหละคือความสำเร็จในเจตนาขั้นสุดท้ายของการแสดงศิลปกรรม”

ทั้งหมดนี้คือคำตอบโดยรวบรัดของคำถามสั้นๆ ที่ว่า

“ศิลปะคืออะไร?” + ปล.สำหรับผู้ที่สนใจศึกษามุมมองเกี่ยวกับศิลปะของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ศิลปวิชาการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และ ศิลปวิชาการ ๒ : ศิลปะคืออะไร ที่เป็นหนังสือรวบรวมบทความศิลปะของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่เคยเขียนไว้ในวาระต่างๆ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และวิบูลย์ ลี้สุวรรณ เป็นบรรณาธิการ + อ้างอิง: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. (2549). อะไรคือศิลปะ. ศิลปวิชาการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. หน้า 19-25 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. (2549). ศิลปะคืออะไร?. ศิลปวิชาการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. หน้า 107-109 nintara1991. 3 คำคม 5 คำสอนสุดอมตะของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี.

https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/113800.html พอ click ต่อที่ Link นี้ กลับมีบทความที่เพจเคยเอามาลง + 3 คำคม 5 คำสอนสุดอมตะของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ขอรำลึกถึง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผ่าน 3 คำคมและ 5 คำสอนของท่าน ที่จดจำอยู่ในหัวใจของชาวศิลปากรอย่างไม่มีวันลืมเลือน + “นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร” ถ้าหากคนเราไม่ขวนขวายด้วยความเพียรพยายาม แล้วจะได้ความสำเร็จมาจากไหน การแสวงหาความรู้ก็เช่นกัน หากไม่ขวนขวายแล้วจะมีความรู้ได้อย่างไร การอ่านหนังสือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หากไม่อ่านจะมีความรู้ที่เพิ่มพูนได้อย่างไร + “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” งานศิลปะไม่ต่างจากสิ่งบันทึกเรื่องราว เราสามารถทราบเรื่องราวของผู้คนในอดีตจากงานศิลปะเก่าแก่ เช่น ภาพเขียนบนผนังถ้ำ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ถ้ำ มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เราจะเห็นว่าภาพของคนล่าสัตว์ กิจกรรมของมนุษย์ในสมัยก่อนมากมาย ภาพเหล่านี้แสดงให้เราเห็นว่า มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง ดังนั้นศิลปะจึงมีอายุที่ยืนยาวกว่าชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ในบางยุคสมัยอาจตายไปแล้ว แต่ศิลปะในยุคสมัยนั้นยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน + “พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว” เป็นคำคมที่สะท้อนความจริง ดังคำว่า “เวลาและวารี (สายน้ำ) ไม่คอยใคร” เวลาเป็นสิ่งที่ไม่มีใครห้ามให้เวลาหยุดเดินได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์ศิลป์ต้องการสอนให้ตระหนักถึงเรื่องความเสียดายของเวลาที่ล่วงเลยไป เมื่อเราอยากทำอะไรก็จนรีบทำ ก่อนที่จะสายไป เพราะ “พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว” เราอาจไม่ได้มีโอกาสทำมันอีกก็เลยก็ได้ + “อย่าถือว่าเราเป็นคนเก่ง ต้องศึกษาเล่าเรียนอีกมาก ฉันเองก็ยังศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา” ท่านให้โอวาทนี้กับ สนิท ดิษฐพันธ์ุ ซึ่งเป็นนักเรียนคนเดียวที่สำเร็จการศึกษาจิตรกรรมในปีนั้น ท่านสอนว่าการความสำเร็จทางการศึกษาไม่ใช่เครื่องวัดการันตีว่าเราเป็นคนเก่ง ส่วนความรู้ที่เรียนมาก็ไม่ได้หมายความว่าจะเพียงพอ ดังนั้นจึงควรแสวงหาเพิ่มพูนความรู้ให้ตนเองอยู่เสมอ เพราะแม้ท่านเองยังต้องหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน + “ในบรรดาศิลปะด้วยกัน ดนตรีเป็นสิ่งเร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนได้มากที่สุด เมื่อเรามีนักดนตรีที่มีความสามารถสูงมาบรรเลงในบ้านเรา เราก็ใคร่จะให้ญาติสนิทมิตรสหายได้มาร่วมเสพสุนทรียรสกับเราด้วย” ท่านกล่าวสอนกับคนอื่นซึ่งมีคุณสมเกียรติ หอมเอนรวมอยู่ในตอนนั้น ท่านต้องการสอนเรื่องของการเผื่อแผ่ การแบ่งปัน ไม่ห่วงซึ่งกันและกัน โดยท่านเปรียบเปรยกับการที่มีโอกาสไปฟังดนตรีจากนักดนตรีฝีมือเยี่ยม แล้วก็อยากให้คนอื่นได้ไปฟังด้วย หากเราได้ของดีมาก็ควรแบ่งปันให้แก่กัน + “พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน…แล้วจึงเรียนศิลปะ” ท่านกล่าวสอนกับนักเรียนศิลปะที่เพิ่งเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรในวันแรก ก่อนที่จะเรียนศิลปะ ต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน เพราะศิลปะเป็นสิ่งรองรับความคิดของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น บทเพลง แต่งมาจากความรู้สึกและประสบการณ์ของมนุษย์ ภาพวาดก็จำลองมาจากความคิดและจินตนาการของมนุษย์ เป็นต้น อาจารย์ศิลป์สอนนักเรียนศิลปะแบบนี้ เพื่อให้พวกเขาเข้าใจว่าการเรียนศิลปะไม่ใช่แค่เรียนเพื่อให้วาดและระบายสีเป็นเท่านั้น แต่ผู้เรียนต้องเข้าใจถึงตัวเองในฐานะมนุษย์ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะด้วย + “ศิลปะไม่ได้สอนให้วาดรูปเป็น แต่สอนให้รู้จักการใช้ชีวิต” คำสอนนี้อาจารย์ศิลป์ต้องการสื่อว่า ศิลปะไม่ใช่วิชาที่สอนเพื่อวาดภาพเท่านั้น แต่เป็นการสอนทักษะในการใช้ชีวิตด้วย เราอาจจะสังเกตเห็นว่า ศิลปิน หรือนักวาดภาพอารมณ์เย็น มีอารมณ์สุนทรีย์ มองอะไรก็เป็นความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้กว่าเขาจะบรรจงวาดภาพได้ ต้องจินตนาการภาพขึ้นมาในหัวก่อน การทำแบบนี้ไม่ต่างจากการไตร่ตรองใคร่ครวญ จึงเริ่มขีดลากเส้นจนกลายเป็นภาพ ชีวิตก็ไม่ต่างจากการทำงานศิลปะ หากใช้ชีวิตไปโดยไม่ไตร่ตรองใดใดเลย ชีวิตอาจจะเป็นไปอย่างไร้จุดมุ่งหมาย + “ทุกคนมีความงาม นายต้องค้นให้พบ… แม้แต่คนที่ขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุด ก็อาจจะมีความงามที่แอบซ่อนอยู่ อาจจะเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือ ฟัน หรือแม้แต่จิตใจที่งดงามก็ตาม นายต้องค้นให้พบ…” ท่านกล่าวกับลูกศิษย์คนหนึ่ง เพื่อสอนเรื่องความงดงามของมนุษย์ ท่านมองว่ามนุษย์ทุกคนมีความงดงาม แม้โดยรวมแล้วบางคนอาจจะมีรูปร่างที่อัปลักษณ์ แต่อย่างไรก็ต้องมีบางส่วนในร่างกายที่งดงาม แต่ถ้าหากไม่มีเลย จิตใจที่ดีของมนุษย์ผู้นั้นก็ถือว่าเป็นความงดงามได้เช่นกัน คำสอนนี้แสดงให้เห็นว่าอาจารย์ศิลป์ไม่อยากให้ลูกศิษย์มองมนุษย์ที่ความงดงามจากเปลือกนอกโดยรวมเท่านั้น เพราะมนุษย์ทุกคนต่างมีจุดที่งดงามของตน + ฝากแชร์ให้คนที่รักนะครับ + คัดลอกจาก https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/113800.html +

566 views0 comments

Comments


bottom of page