top of page
Search

สวัสดีครับ ผู้กำกับคนใหม่ล่าสุดของโลก



* กำลังจัดบรรทัด ท้ายๆ ยังไม่เสร็จครับ

มีหลายท่านอยากให้ผมเขียน What The Film Director Does? ผมอยากจะบอกตามตรงว่า ผมไม่ได้เป็นสายผู้กำกับ กับสิ่งที่ผมเขียนมักอิงอยู่กับ Producer และ Editor ผมก็ได้ไปสอบถามบรรดาผู้กำกับต่างๆ หลายคนบอกมีหนังสือหลายเล่ม ส่วนมากเป็นของฝรั่ง หรือหากมีโอกาศก็ลองไปหาคอร์สเรียน มีหลายคนบอกว่าในที่ผมเขียนมาหลายปี ก็น่าจะเหมาะสำหรับเด็กใหม่ๆ ที่อยากจะเป็นผู้กำกับ ผมจึงลองเลือก post เก่าๆ มาเรียงร้อยต่อกัน โดยแต่ละ post ไม่ได้มีจุดเชื่อมใดๆ เลย และแค่หวังว่าจะเป็นแนวทางให้เด็กใหม่ๆ ได้อ่าน และลองเอาไปฝึก ยาวมาก และอย่าหวังว่าอ่านจบจะเป็นผู้กำกับได้ เราต้องฝึกฝน ทดลอง มานะบากบั่น ความฝันถึงจะเป็นจริงครับ เอ้าเริ่ม หมายเหตุยาวมากครับ ใครอ่านจบถึงตอนท้าย แล้วจะบอกต่อ———————



+ 7 เทคนิคการถ่ายโบราณที่ยังใช้ได้อยู่เสมอ +

มันเป็นภาษาภาพยนตร์ที่คนรุ่นเก่าๆ ทำกันมา และก็ยังเอามาใช้ได้ดีในปัจจุบัน มันมีพลังอย่างไม่น่าเชื่อ และสามารถสื่อสารความคิดได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม


1.TRACK-IN/TILT UPเป็นการสื่อถึงตัวแสดงที่มีพลัง โดยใช้ 2 เทคนิครวมกันคือ Dolly in + Tilt up มันเป็นการถ่ายทอดอันทรงพลังของตัวแสดง อาจรวมถึง action ของตัวแสดงที่นั่งอยู่และลุกขึ้นยืนด้วย ยิ่งทำให้ดูมีพลังมากขึ้นไปอีก ผู้กำกับหลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งSteven Spielberg ได้ใช้เทคนิคนี้มานานหลายปี ในหนังหลายเรื่อง ลองไปสังเกตดูครับ


2.MINOR OFF-SPEEDการทำให้ speed การถ่ายเปลี่ยนแปลงจากปกติ ซึ่งส่งผลไปถึง speed ในการดู การถ่ายด้วย speed ปกติของหนังใหญ่คือ 24 FPS มีผู้กำกับหลายคนอยากอธิบาย action ให้ช้าลง อาจเป็นเพราะ action ที่เกิดขึ้นเร็วเกินไป หรือแม้แต่การเดินของตัวแสดง ผู้กำกับมักปรึกษากับ DP ให้ใช้การถ่ายที่ 36 FPS มันทำให้การเดินช้ากว่าปกติแบบไทยๆ เ

ห็นได้บ่อยกว่ามักชอบถ่ายที่ 50FPSในหนัง online

หรือ MVถ้าหนังไทยก็อาจจะ 36 หรือ 48 FPS

ผู้กำกับบอกว่ามันจะละมุนขึ้นแต่เซียนบอกไว้ว่า

อย่าใช้นานในการตัดต่อเพราะถ้าตัดต่อด้วย speed สูงกว่า 24 FPSนานๆ

จะทำให้คนดูหลุดออกจากการอินในหนัง

เพราะมันเป็น speed ที่ไม่ปกติ

คนจะอินกับความ real

เช่น speed. 24 FPS มากกว่า


MARTIN SCORSESE

ได้กล่าวไว้ใน master class ของเขา

กับหนัง raging bullเ

ขาใช้ speed ปกติ 24 FPS แล้วตัดไปที่ 36 FPS

เพื่อความดรามาติกดูเหมือนฝันแล้วตัดกลับมาที่ปกติ 24 FPS

มันเป็นการเล่นกับ speed ให้เข้ากับช่วง

ที่ต้องการนำเสนอทั้งหมด

ขึ้นอยู่กับบท

และที่ speed 36 FPS ที่ตัดสลับไปมาคนจะไม่ค่อยรู้สึกมากนัก

แต่มันให้ผลกับการตัดต่อที่ดีขึ้น

และบางครั้งถ้าต้องความกระฉับกระเฉงเร็วขึ้น

DP ของเค้าก็จะเลือกถ่าย speed 22 FPS หรือ 20 FPS

เพื่อให้ shot นั้นดูเร็วขึ้นนิดนึง

โดยที่นำมาตัดต่อรวมกันกับ speed ปกติของ shot อื่น

แล้วดูไม่รู้สึกว่าเร็วไปซึ่งทั้งหมดต้อง

ใช้วิธีถ่ายเผื่อกับ speed กล้องดังกล่าว


3.CHARACTERS LEAVING THE FRAME

ตัวแสดงหลุดออกจากกรอบหากเรากำลังดูตัวแสดง

เดินไปมารอบ ๆ ห้อง

สามารถรู้สึกได้ว่าอยากจะติดตามตัวแสดงนั้น

(ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายแบบ hand held

หรือโดยการแพนกล้องตามตัวแสดงบนขาตั้งกล้อง)

แต่มีอีกเทคนิคหนึ่งเป็นการตั้งกล้อง lock static ไปที่กลางห้อง

แล้วปล่อยให้ตัวแสดงเดินไปมา

และอาจหลุดออกจากเฟรมพร้อมตะโกนลั่นแบบไม่เห็นตัวแสดง

แต่ได้ยินเสียงแหกปากโวยวาย

พร้อมกับเสียง sfx โต๊ะเก้าอี้ล้ม

เทคนิคนี้เป็นการวางผู้ชมเป็นแมลงวัน

บนฝาผนังห้องอีกด้าน

ซึ่งถือว่าเป็นมุมตรงข้ามกันกับมุม POV ของตัวแสดง

สรุปคือตั้งกล้องนิ่ง ปล่อยให้ตัวแสดงระเบิดนอก frame

ซึ่งอย่าลืมว่าเราทำหนังที่มีเสียง

เสียงที่อยู่นอก frame ทำให้เกิดจินตนาการมากมาย

โดยที่ภาพคือความว่างปล่าวของห้อง

ผู้กำกับนับไม่ถ้วน Gus Van Sant /Sofia Coppola / Woody Allenไ

ด้ใช้เทคนิคนี้ในภาพยนตร์ของพวกเขา

และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก

และบางทีมัก design เป็น scene แบบ one shot


4.THE DUTCH TILT

แน่นอนว่านี่เป็นเทคนิคเก่ามาก แต่ก็ยังมีผลเช่นเดิม …

เราได้รับการฝึกฝนให้ถ่ายทำทุกอย่างขนานกับเส้นขอบฟ้า

ตรงตามที่เห็นในสายตามนุษย์เรา

ไม่เดินไปโดยเอียงหัวไปด้านข้าง

และทำไมเราถึงอยากดูหนังที่มีมุมมองที่เอียง

แต่ในภาษาภาพยนตร์มันทำให้คนดูไม่สบายใจนั่น

คือเราจะทำในสิ่งที่บทต้องการ

แต่ก็ไม่เสมอไปในภาพยนตร์สยองขวัญ Horror film

มักใช้ THE DUTCH TILT มานานหลายสิบปี

เพื่อทำให้เกิดความระส่ำระสายในผู้ชม

ซึ่งบ่อยครั้งที่ความตึงเครียดในเรื่อง

ก็ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

มันจะสร้างความรู้สึกไม่สบายใจอยู่เสมอ

และการใช้เสียงที่เหมาะสมจะกำหนดความเข้มของความไม่สบายใจ

ในขณะที่ Dutch Tilt (หรือ Dutch Angle) สามารถเป็นเครื่องมือ

ที่ทรงพลังอย่างยิ่ง

แต่มักใช้กับภาพที่เลือกในภาพยนตร์ฉากใดฉากหนึ่ง

การใช้งานบ่อยเกินไปจะทำให้คนสนใจลดลง

แต่การใช้ที่พอเหมาะจะทำให้คนจำฉากนั้นได้ดี

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่บทด้วยเป็นสำคัญครับ

หรืออื่นๆ เช่นหากมีอะไรที่เอียง ก็ลอง POV มันซะเช่นรถที่ขับเอียงเข้าโค้ง


5.DEEP DEPTH OF FIELD

การถ่ายทำที่ใช้ DEPTH OF FIELD ที่ลึก

ปัจจุบันมักชอบถ่ายกันแบบ DEPTH OF FIELD ที่ไม่ลึกและตื้นมาก

ก็เหตุเกิดจากกล้อง DSLR ที่มีคาแร็ตเตอร์ DEPTH OF FIELD ต่ำ

เพราะใช้แสงน้อย หรือแสงเยอะก็ใส่ ND เพื่อเพิ่มหน้ากล้องให้กว้างขึ้น

ซึ่งมันทำให้ background ละลายเป็นวุ้น

ซึ่งคนรุ่นใหม่ชอบ

แต่ DEEP DEPTH OF FIELD เป็นสิ่งตรงกันข้าม

มันเป็นเทคนิคที่ set ให้ DEEP DEPTH OF FIELD

นั่นคือต้องใช้แสงมากขึ้นหากเป็นฉากใหญ่ใน studio

มันเป็นเทคนิคที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดที่อยู่บนฉาก

ซึ่งฉากก็ต้องเนี๊ยบมากเหมือนเราเข้าไปอยู่ในที่ที่นั้นจริง

หรือเป็นความอลังการของ Location ที่มีรายละเอียดมากจริงๆ


6.TELEPHOTO ACTION SHOT

การใช้ Lens Tele กับการถ่ายหนัง Action

สำหรับเลนส์ที่มีความยาว 120 มม.ขึ้นไป

จะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวรวดเร็วในพื้นหลัง Background

และทำให้เกิดฉากแอ็คชั่นที่สวยงาม

โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ปกติ (หรือกว้างกว่า)

ซึ่งช้าลงอย่างมากเมื่อถ่ายภาพจากขาตั้งกล้อง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทีมผู้สร้างอย่างอากิระคุโรซาวะ

มักจะใช้เลนส์เทเลโฟโต้ที่มีความยาวมาก

ถ่ายฉากแอ็กชั่นจากระยะไกล

สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้พวกเขา

ถ่ายการเคลื่อนไหวในระยะไกลที่ใหญ่ขึ้นเท่านั้น

แต่ยังสร้างความรุนแรงและการเคลื่อนไหวที่วุ่นวายในแต่ละช็อตอีกด้วย

และที่สำคัญการถ่ายทำง่ายขึ้นอีกด้วย


7.STARK COLOR CONTRAST

ในยุคแรก ๆ ของการถ่ายภาพยนตร์ที่ดีที่สุด

มักจะมองหาวิธีเพิ่มความคมชัดของสี

ให้กับภาพของพวกเขาแต่ปัจจุบัน

การแก้สีในขั้น post นั้นพัฒนามามาก

ที่จะเพิ่มความเข้มของสี ความคมชัดของสี

และแก้ใขได้เยอะแล้วกว้างมากขึ้น


แต่ old school ความคมชัดของสีส่วนใหญ่

เกิดขึ้นจบจากกล้องโดยใช้เจลสีหรือหลอดไฟ

เพื่อผสมอุณหภูมิสีในฉาก

และเป็นที่ถกเถียงกันว่าจบที่กล้องจะมีความงามมากกว่า

การแก้สีเป็นเพียงการเพิ่มอีกไม่ควรเกิน 10-15%

เพราะแสง และสีของฉากที่ถ่ายมามักให้ความงามของแสง

มากกว่าการมาเพิ่มมากๆ ในห้อง Grade สี


DP ในปัจจุบันเห็นด้วยกับวิธีการ old school แบบเก่า

จึงจัดแสงให้เกิด contrast ตั้งแต่ถ่ายมา

อาจเหมาะกับหนังสยองขวัญ หนังผี หนัง sci-fiหนัง action บางประเภท

ที่ทำให้เกิด stlye ที่ใหม่


นี่เป็น 7 เทคนิค old school ที่มาขยายให้กันฟัง

เรียบเรียงจากบทความของฝรั่งมาครับ

ซึ่งฝรั่งยังบอกเลยว่ามันยังเอามาใช้ได้ดีในปัจจุบัน

ไม่ใช่ต้องใช้เทคนิคทั้ง 7 ที่ว่ามา

ในหนัง 1 เรื่องซึ่งก็ต้องเลือกให้เหมาะกับบทที่ต้องการ

ในหนัง 1 เรื่องก็เลือกเอาที่เข้ากับบทได้ซึ่งยังมีเทคนิคต่างๆ อีกมากมาย

เช่น Dolly out + Zoom in / Dolly in+ Zoom out

ที่ทำให้ขนาดภาพเท่าเดิมแต่ภาพพื้นหลังเปลี่ยน perspective ไป หลังจากอ่านจบให้ลองดูงานของระดับอาจารย์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กำกับอย่าง

Stanley Kubrick,

Orson Wells,

Jean Luc Godard,

Steven Spielberg,

Federico Fellini และผู้กำกับและนักถ่ายภาพยนตร์คนอื่น ๆ

หากคุณค้นพบเทคนิคบางอย่างที่คุณชอบ

ช่วยมาเม้นเพิ่มเติมได้

และเช่นเคยฝากแชร์ให้คนที่เกลียด

เอ๊ยคนที่รักนะครับL


ink เก่าๆ ของเพจที่เกี่ยวกัน7 ขนาดภาพมาตรฐาน


ถ่ายหนังทำไมต้องจัดแสง



+ Directing – Editing – MV +

วันนี้เข้า FB เจอบทความของฝรั่ง

+เรื่อง Edit MV

ปกติผมก็ไม่เชี่ยวชาญ MV ซักเท่าไหร่

แต่ก็ดู MV มาทุกยุคทุกสมัย

จาก MV ไทยๆ คือ ถ่ายสดๆ เล่นบนเวที Lip sync

เริ่มที่ ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล

กับเพลง ไปทะเลเค้าว่ากันว่าเป็นมิวสิกวีดีโอแรกของเมืองไทย

ที่มีการวางเนื้อเรื่องใน MV

และรู้ไหมใครกำกับ

พี่เก้ง จิระ มะลิกุลแห่ง GTH เอ๊ย GDH ในปัจจุบัน

กับค่ายเพลง WEA สมัยนั้นคลื่น nite spot ก็ช่วยโปรโมท

แถมยังมี film สีโกดัก 200 tie in ท้าย MV อีกนะ

สมัยนั้น Grammy เพิ่งเกิดก็ยังไม่ค่อยมี MV ออกมา

พอ Grammy อาระวาดเพลงออกมาก็เป็นยุคของ Grammy RS

และค่ายเพลงทั้งหลายกระหน่ำทำ MV ออกมา

สมัยนั้นนางแบบใครอยากเกิดก็ต้องมาเล่น MV ก่อน


กด Fast Forward มาปัจจุบันหามี MV ให้ดูน้อยลง

เหตุผลคือเพลงขายไม่ได้ ไม่มีเงินทำ MV

ยุคที่ผ่านมาเป็นยุค MP3 เพลงถูก copy ค่ายขายเพลงไม่ได้

คนฟังเพลงคุณภาพแย่ลงกับคุณภาพ MP3

ปัจจุบันดีขึ้นมากับยุคการฟังแบบ streaming แต่ก็ยังขายไม่ได้เงินมากนัก หรือได้มากแต่ค่ายก็ไม่บอกศิลปินก็ไม่รู้สินะ

มีการได้รายได้จาก Youtube

เริ่มดีขึ้น เริ่มมี MV มาให้ดู

คนรุ่นใหม่เข้ามาทำมากขึ้น

แต่ก็ถูกกดด้วยการตลาดที่ว่าต้องราคาถูก

ก่อนหน้านี้ 2-3 ปีนิยมทำ Lyric VDO เพราะไม่มีเงินทำ MV

เชื่อไหมครับมีการจ้างทำ Lyric VDO เรื่องละ 5,000 บาท

มีครับเด็กใหม่ๆ ลงสนามเข้ามาทำกัน

ก็ว่ากันไปตามการตลาดที่ต่ำตมครับ


ปัจจุบันเริ่มมี MV กลับมาทำมากขึ้น

ผมมองอย่างงี้นะครับ

มองทางการตลาดใครไม่มีงบ วงใหม่ๆ ก็ทำ Lyric VDO ง่ายๆ

แบบว่ามือเบสมีความรู้เรื่อง after effect ทำเอง

เพราะว่าเพลงไม่ได้ดังเพราะต้องมี MV นะครับ

เพลงดังมันดังแบบไม่ลืมหูลืมตาเลยครับ

เพลงไม่ดังต่อให้โปรโมทให้ตายก็ไม่ดัง

เพราะมันไม่โดน

ดังไม่ดังปล่อยเป็นเรื่องของศิลปิน

เรามาดูกันดีกว่าเราจะทำ MVให้ได้ดีตามมาตรฐานอย่างไร

อันนี้เป็นบทความที่เคยเขียนนานแล้ว https://www.facebook.com/pmkrrnmk/photos/a.221420964651027/621710597955393/?type=3&theater


แต่จะ Update จากที่ไปอ่านจากบทความเมืองนอกนะครับ

ไปเจอบทความฝรั่ง อ่านหาความรู้ทางหลักการต่างๆดีบ้าง ไม่ดีบ้าง http://www.lavideofilmmaker.com/music-videos/shooting-music-video-tips.html

ก็อ่านๆ ไป มาสะดุดที่ ข้อ 2

ฝรั่งมันบอกว่าการถ่าย line sync lip sync ของศิลปิน

ต้องถ่ายให้ได้ความรู้สึกว่า

ศิลปินร้องเพลงในทุกช่วงให้ดูเหมือนจริง

ทั้งอารมณ์ หน้าตา สายตา ความรู้สึก มากที่สุด

ผมเห็น MV ไทยหลายตัวมองข้ามตรงนี้ไปไม่ทราบว่าถ่ายมารึปล่าว

หรือคนตัดไม่ได้หยิบ take ที่ใกล้เคียงที่สุดมาใช้

ที่หนักสุดคือตัดออกมาไม่ sync ด้วย

MV หลายตัว หน้าตานักร้องมันบ่งบอกความรู้สึกไม่เท่ากับ

เสียงเพลงที่อัดมาที่ mix สำเร็จมา

มันก็เลยเป็น Lip sync แบบไม่เนียนไม่ feel

ผกก. MV ควรให้ความสำคัญตรงนี้ให้สูงนะครับ

โดยเฉพาะเด็กใหม่ที่จะฝึกหัดเป็น ผกก.

ส่วนข้ออื่นๆ ก็เป็น Basic



ข้อ 1 ควรอัดเสียงในตอนถ่ายไว้ด้วย

เพื่อตอนตัดจะได้ทราบว่ามันเป็นช่วงไหนของเพลง

แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็ต้องมี Slate แถมให้อีกข้อ

ในฐานะ ผกก ต้องฟังเพลงให้ขาดนะครับ

บางครั้งท่อนที่ repeat มันไม่เป็น Take เดียวกัน

หรืออาจมีการ up key หน้านักร้องก็จะมี degree ไม่เหมือนกัน

คุณรู้ไหม


ข้อ 3 ก็ปกติเพลงควรเสร็จแล้ว

ไม่ควรมี option ในเรื่องเพลงที่ไม่เสร็จ

ใช่ครับเพลงควรเสร็จแล้ว

เพราะถ้าถ่ายไป เผื่อไป ยิ่งแย่ ไม่จบครับ


ข้อ 4 ถ่ายในหลายๆ Angle เพื่อให้เพียงพอ

และ มี varity ในการตัด

ขอเสริม มุมก็ควรจะเลือกหลายๆ มุมที่เล่าเรื่อง

สื่อตามเพลงก็จะยิ่งแน่น

มุมที่เล่าเรื่อง เออเรื่องนี้ว่ากันยาว

ผมเห็นหลาย MV พยายามหามุมกันได้พิศดารมาก

มุมที่เล่าเรื่องเราก็ต้องกลับไปที่ภาษาภาพ 7 มุมหลัก https://www.facebook.com/pmkrrnmk/photos/a.221420964651027/751646261628492/?type=3&theater

ตาม Link จาก 7 มุมหลัก

เราเอาภาษาภาพมาจับกับเนื้อร้องแล้ว

ลองวางออกมาเป็น shooting board

และค่อยคิดเพิ่มว่ามุมแปลกๆ ถ่ายอีก 2-3 มุม

มุมแปลกๆ ก็ต้องตอบภาษาภาพด้วยนะครับ

อีกเรื่องตอนเริ่มรับงาน

ผู้กำกับ ควรนั่งคุยกับคนเขียนเพลง นักร้อง และสมาชิกวง

เพราะทุกคนมีความฝันในเพลง ผู้กำกับก็ควรเอามาตีความใหม่

และปรึกษาคนเหล่านี้ให้ออกมาเป็น synopsis script

ที่บทเล่าเรื่องแล้วค่อยเอาภาษาภาพ มุมทั้ง 7 มาจับ

ทำเป็น shooting board


ข้อ 5 B-Roll

อันนี้ตัวสำคัญ คือ off sync

ไม่ว่าจะเป็นตัวศิลปินเองเต้นหรือ dancer

หรือ B-Roll ที่เป็นเนื้อเรื่องมีตัวแสดง

มีเรื่องราวหรือ B-Roll ที่เกี่ยวกับจินตนาการของเพลง

ในบางตำราของ Film maker จะใช้คำว่า

subtext หรือ Metaphorsubtext คือนัย ความหมายที่ซ่อนอยู่

Metaphor คือการอุปมาว่าเป็นเช่นนั้น

เพราะฉะนั้นผู้กำกับต้องมีการพูดจาพูดคุยกับคนแต่งเพลงว่า

ท่อนนี้เค้าคิดถึงอะไร ถึงมาเป็นเพลงท่อนนี้

และผู้กำกับก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอว่าหากเป็นภาพนี้จะได้ไหม ก็จะมีการพูดคุยกัน

ส่วนมากก็จะเป็นการประชุมพูดคุยกัน

ทั้งความหมายตรงและความหมายนามธรรม

ความที่ซ่อนอยู่หรือสิ่งที่อุปมาอยากจะสื่อ


ปัจจุบันค่ายเพลงไม่ลงทุนทำ MV เพราะ MV ต้นทุนแพง

มีการทำ Lyric VDO ขึ้นมาแทน

หน้าที่มาตกอยู่กับคนทำ post production

โดยเฉพาะคนทำ after effect font ที่จะใช้ ก็ล้วนสื่อความหมายหมด

ซึ่งผมไม่เห็นด้วยมากนักกับการทำ Lyric VDO

ศิลปินควรทำ MV เพื่อ Branding มากกว่าทำ Lyric VDO ครับ

เพราะ MV ที่ดีมันจะทำให้คนที่เห็นจำ Band จำวงได้เร็วขึ้น

และยิ่งวงทั้งหลายออกมาคล้ายๆ กันอีก ยิ่งแล้วใหญ่

และที่ค่ายเพลงชอบมากคือใส่ download อะไรไม่รู้ยุ่บยั่บไปหมด

ลองดู MV นอก เค้าไม่ใส่อะไรพวกนี้เลย

ผมเคยถามเด็กๆ ที่ดู MV ว่าไอ้พวก download อะไรทั้งหลายแหล่เนี่ย

รู้สึกยังงัยเด็กๆ บอกไม่ควรใส่ เพราะใส่มากก็รก

ถ้าเค้าจะ download ใส่มาก็ไม่ทำให้จำได้หรอกครับ

พี่ค่ายใหญ่เดี๋ยวนี้ถ้าอยาก download

search แพร๊พเดียวก็รู้แล้วทำเพลงออกมาให้ดีเหอะครับ

ว่าไป


ฝั่งค่ายก็บอกว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะได้เงิน ก็ต้องใส่

ส่วนคนดูบอกไม่มีผลต่อการ download เลย

ปัจจุบันการผลิต MV ลดลงอย่างมากแทบจะมีให้ดูได้น้อยลงเยอะครับ

ค่ายเล็กๆ ก็ทำกันเองก็ฝากผู้กำกับรุ่นใหม่ทำกันให้ถึง

Film maker ไม่มีวันตาย

MV ก็เป็นบันไดให้ขึ้นไปเป็นผู้กำกับหนังโฆษณา

ผู้กำกับหนังใหญ่ เยอะแยะมากมาย

หากเดินบนเส้นทาง Film maker ครับ

อ่อขออย่างเดียวอย่าไป copy งานฝรั่งเค้านะ

เดี๋ยวนี้จับได้ประจานกันตาม webboard เยอะแยะ

ตีความจากข้อ 5

เราสร้างเรื่องเองได้แต่ก็ต้องย้อนไปอีกว่า

เพลงก็ไม่ได้ copy เค้ามานะ

ปล. ไม่ได้เขียนด่าใครนะครับ

อยากให้คนรุ่นใหม่เก่งๆ

ชอบใครก็ฝากส่งต่อให้คนที่เรารักใครมีอะไรเพิ่ม

ก็เม้นต่อได้เลยไลท์บ้างก็ได้ ช่วยกำลังใจคนเขียนต่ออีก




27 views0 comments

Comments


bottom of page